วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

จัดทำโดย




นางสาวอรวรรณ สุวรรณโณ
คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด 2\1
รหัสนักศึกษา 156405090123-4

วิชา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ รหัสวิชา 05411101

แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (หาดฝั่งแดงหรือหาดผาแดง)


หาดฝั่งแดงหรือหาดผาแดง 

 ชายหาดสีแดงอายุกว่า 100,000 ปีหาดฝั่งแดงตั้งอยู่ใน อ.บางสะพานน้อย มีลักษณะพิเศษตรงที่ชายหาดและบริเวณหน้าผาที่โดนน้ำและลมกัดเซาะเป็นสีแดงอิฐ มองดูสวยแปลกตา จากการสำรวจทางธรณีวิทยาพบว่า บริเวณจุดนี้ทางธรณีวิทยาถือเป็นการเกิดตะกอนในยุคไครสโตซีน มีอายุอยู่ในราวกว่า 1 แสนปีขึ้นไป ในยุคนั้นบริเวณนี้จะเป็นยุดที่มีทางน้ำกวัดแกว่งอยู่แถวนี้ และพัดพาตะกอนกรวดเข้ามาค่อนข้างไกล และมาสะสมตัวอยู่บริเวณจุดนี้ ซึ่งก้อนกรวดจะมีลักษณะกลมมน นานเข้าจากการสะสมก็จะทำให้มีความหนาของตะกอนประมาณ 10 กว่าเมตรขึ้นไป โดยชายหาดผาแดง มี 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจะเป็นลักษณะของศิลาแลง อายุประมาณกว่า 1 แสนปีขึ้นไป และอีกส่วนลงไปแนวเดียวกัน มีอายุกว่า 240 ล้านทอดตัวยาวไกลสุดตา หากวันไหนคลื่นลมสงบฟ้าใสก็จะสามารถมองเห็นหน้าผาสีแดงได้ชัดเจนจากเกาะทะลุได้อีกด้วย


แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (เพลินวาน)



เพลินวาน

หัวหิน ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่พักผ่อนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ผู้คนมากมายมีความทรงจำดีๆ ต่อเมืองชายทะเลที่สวยงามติดอันดับโลกแห่งนี้ การได้กลับมาเห็นภาพชีวิตเฉกเช่นในวันวานจึงเป็นสิ่งที่หลายคนถวิลหา วันนี้เมื่อกลุ่มคนที่หลงรักอดีตของหัวหินร่วมกันเนรมิตบ้านเรือน ร้านค้า ร้านกาแฟ ที่เคยอยู่ในภาพถ่ายให้กลับมามีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อให้เป็นจุดหมายใหม่ในการเดินทางสู่เมืองหัวหินในนามของ "เพลินวาน" จึงได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทุกหมู่คณะที่ต้องการหลีกหนีความวุ่นวายในโลกปัจจุบัน เพื่อหันกลับมามองอดีตที่ผ่านมาในวันวาน

                 เพลินวาน มีลักษณะคล้ายพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านย้อนยุคที่มีชีวิตอยู่ โดยมีทั้งร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านเสื้อผ้า ร้านขายขนม ร้านเหล้าในสมัยก่อน รูปแบบของหมู่บ้านนี้จะเป็นร้านค้าที่ทำจากไม้ ผู้คนก็แต่งตัวแนวย้อนยุค ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในช่วงปีพุทธศักราช 2499 อีกครั้ง ซึ่งเพลินวานเป็นสถานที่ที่เน้นการขายอารมณ์และความรู้สึกมากกว่าตัวผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของที่ใช้ในการตกแต่ง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของพนักงานซึ่งจะเป็นของที่ใช้จริงในสมัยนั้น แต่ที่โดดเด่นไม่เหมือนที่อื่นก็คือข้าวของที่นี่สามารถซื้อขายได้จริง ไม่ใช่แค่ตั้งโชว์เหมือนพิพิธภัณฑ์ทั่วๆไป เสมือนว่าช่วงเวลาหนึ่งเราได้ย้อนยุคกลับมายังโลกอดีตจริงๆ



แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ)



พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ


สำหรับพระมหาธาตุเจดีย์แห่งนี้ตั้งอยู่บนเขาธงชัย บริเวณวัดทางสาย ต.เขาธงชัย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ประมาณ 60 กิโลเมตร ซึ่ง ม.ร.ว.มิตรวรุณ เกษมศรี ศิลปินแห่งชาติ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสครองราชย์ครบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทุ่มเทสร้างผลงานชิ้นนี้อย่างสุดฝีมือ และถือเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายก่อนที่จะสิ้นชีวิต โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ
ด้านล่างก่อนที่จะถึงบริเวณทางขึ้นพระมหาเจดีย์นั้น จะเป็นลานกว้าง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธกิติสิริชัยซึ่งทางคณะสงฆ์วัดทางสายร่วมกับชาวบ้านสร้างถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ โดยสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกประธานถวายนามว่า พระพุทธกิติสิริชัย

พระพุทธกิติสิริชัยเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิแบบศิลปะคันธาระ มีริ้วจีวรและพระพักตร์ที่สวยงาม องค์พระก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง มีขนาดใหญ่ สูงเด่นเป็นสง่า หันพระพักตร์ออกสู่ทะเล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระผงที่หลังองค์พระ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2539 บริเวณโดยรอบพระพุทธกิติสิริชัย มีซุ้มรูปหล่อพระอริยสงฆ์อันเป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชน อาทิ สมเด็จพุฒาจารย์โต (โต พรหมรังสี) หลวงปู่ศุข หลวงพ่อสด


แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ (พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ ประจวบ )

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอประจวบ ( Waghor Aquarium )



 ตั้งขึ้นตามแผนหลักของโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เริ่มดำเนินดารก่อสร้าง มาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2543 กำหนดแล้วเสร็จ ในวันที่ 27 มีนาคม 2545 ใช้งบประมาณ ในการก่อสร้างจำนวน 164 ล้านบาท หลังจากก่อสร้างเสร็จก็จัด นิทรรศการและการแสดง ภายในเวลา 1 ปี การบริหารจัดการจะเป็นการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน โดยเปิดบริการให้เข้าชมได้ในปี 2547 ซึ่งพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา สิ่งมีชีวิตในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับความร่วมมือ อย่างดีจากกรมประมงและสถาบัน วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา สิ่งมีชีวิตในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับความร่วมมือ อย่างดีจากกรมประมงและสถาบัน วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา สิ่งมีชีวิตในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับความร่วมมือ อย่างดีจากกรมประมงและสถาบัน วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา





แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดแประจวบคีรีขันธ์ (น้ำตกไทรคู่)



น้ำตกไทรคู่

     แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้เกาะทะลุ เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากถนนเพชรเกษมมากนัก จึงทำให้นักท่องเที่ยวที่ขับรถลงใต้แวะพักผ่อนจากความเมื่อยล้า ก่อนที่จะออกเดินทางต่อ ซึ่งน้ำตกไทรคู่ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลร่อนทอง อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ อยู่ทางทิศตะวันตกของถนนเพชรเกษม บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี น้ำตกไทรคู่แห่งนี้มีทั้งหมด 9 ชั้น แต่ละชั้นจะมีความสวยงามที่แตกต่างกันไป โดยชั้นที่มีความงามมากที่สุดคือชั้นที่ 5 ซึ่งน้ำตกในชั้นนี้จะมีลักษณะที่เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถพบสัตว์ป่าหลายชนิดที่บริเวณน้ำตกอีกด้วย


แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดแประจวบคีรีขันต์ (เกาะทะลุ)


เกาะทะลุ

            เกาะที่มีความพิเศษไม่เหมือนใคร โดยที่มาของชื่อเกาะทะลุนั้นมาจากลักษณะของเกาะ ซึ่งมีรูทะลุบริเวณด้านทิศเหนือของเกาะ จึงเป็นที่มาของชื่อ"เกาะทะลุ" โดยเกาะทะลุเป็นเกาะที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย รอบๆเกาะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปะการังและสัตว์ทะเลน้อยใหญ่ จึงเป็นจุดดำน้ำที่นิยมในหมู่ของนักดำน้ำและนักท่องเที่ยวทั่วไป ซึ่งปัจจุบันเกาะทะลุเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี และเป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวมากขึ้น ซึ่งบางเบิดรีสอร์ทเป็นรีสอร์ทที่อยู่ใกล้กับเกาะทะลุ ให้บริการดำน้ำเกาะทะลุเป็นรายแรกๆ โดยให้บริการดำน้ำมาแล้วกว่า 10 ปี



แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดแประจวบคีรีขันต์ (สถานีรถไฟหัวหิน)


สถานีรถไฟหัวหิน 

              ตั้งอยู่ถนนพระปกเกล้า ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้ ทางด้านอาคารสถาปัตยกรรมได้รับยกย่องเป็นอาคารอนุรักษ์ อาคารหลังแรกก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2454 แต่อาคารที่เห็นในปัจจุบัน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2469 โดยพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการรถไฟ แห่งกรุงสยาม ซึ่งได้จากการยกอาคารไม้ที่จะใช้ในงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีแผนจะจัดที่สวนลุมพินีเมื่อปลายปี พ.ศ. 2468 แต่ไม่ได้มีการจัดจริงเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต และ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสให้เลิกจัดงานดังกล่าว เมื่อ 2 มกราคม พ.ศ. 2468 (นับอย่างปัจจุบันต้องปี พ.ศ. 2469 เพราะอยู่ในปี ค.ศ. 1926)


อาคารสถานีรถไฟหัวหินเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ อิทธิพลจากสถาปัตยกรรมวิคทอเรียเช่นเดียวกับโรงแรมรถไฟหัวหิน มีราย ละเอียดสวยงามประดับเสา ค้ำยัน และอื่นๆ





แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วังไกลกังวล)


วังไกลกังวล


      จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดเป็นจังหวัดที่ยาวติดอันดับต้นๆของประเทศไทย การที่จะเดินทางผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้นใช้เวลาในการเดินทางนานมาก หลายๆท่านจึงมองว่าเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ หลับแล้วหลับอีกตื่นมากี่อีกทีก็ยังอยู่ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ถ้าพูดถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบแล้วล่ะก็ สถานที่แรกที่ผมจะนึกถึงนั่นก็คือ วังไกลกังวล เป็นสถานที่ที่น่าเที่ยวและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของอำเภอหัวหินที่คุณไม่ควรพลาดในการมาเที่ยวหัวหิน
ซึ่งวังไกลกังวล เป็นวังส่วนพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2469 เพื่อพระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จากพระคลังข้างที่ บริเวณติดทะเลริมหาดหัวหิน โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เพื่อใช้เป็นวังที่ประทับในฤดูร้อนของพระบามสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระอัครมเหสีเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัววังไกลกังวลแห่งนี้ได้รับการออกแบบในสถาปัตยกรรมสไตล์สเปน หันหน้าออกทางทะเล แต่เดิมพระราชวังแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า สวนไกลกังวล และพระตำหนักเปี่ยมสุข ก่อนมาใช้ชื่อพระราชวังไกลกังวลภายหลัง ในรัชกาลที่ 7 ทรงออกพระนามเรียกวังแห่งนี้ว่า สวนไกลกังวล และในตราสัญลักษณ์ของวังเมื่อ พ.ศ. 2472 ได้ออกนามว่า พระราชวังไกลกังวล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีพระบรมราชโองการประกาศยกเป็นพระราชวัง ดังนั้น จึงยังคงเรียกว่า วังไกลกังวล







วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประวัติศาสตร์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่ค่อยแน่ชัด เนื่องจากเป็นพื้นที่แคบ ยามมีศึกสงครามยากแก่การป้องกันจึงต้องปล่อยให้เป็นเมืองร้างหรือยุบเมืองเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเพชรบุรี ในอดีตเป็นเพียงเมืองชั้นจัตวาเล็ก ๆ ที่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองเพชรบุรี พอถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งเมือง เมืองบางนางรม ที่ปากคลองบางนางรม แต่ที่ดินไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกจึงย้ายที่ว่าการเมืองไปตั้งที่เมืองกุย ที่มีความอุดมสมบูรณ์และการตั้งบ้านเรือนหนาแน่นกว่า
ครั้นสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2398 โปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อจาก เมืองกุยเป็น เมืองประจวบคีรีขันธ์โดยรวมเมืองกุย เมืองคลองวาฬ เมืองบางนางรม เข้าด้วยกัน โดยที่ตั้งเมืองยังคงตั้งอยู่ที่เมืองกุย คืออำเภอกุยบุรี ในปัจจุบัน เพื่อให้ชื่อคล้องจองกันกับระหว่างเมืองประจวบคีรีขันธ์ กับ"เมืองประจันตคีรีเขต" ซึ่งเดิมคือเกาะกงที่แยกออกจากจังหวัดตราด

ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2441 จึงย้ายมาอยู่ที่บ้านเกาะหลัก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองชั้นจัตวาซึ่งขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรี จึงมีสถานะเป็นอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ สังกัดเมืองเพชรบุรี ในช่วงนี้เมืองปราณบุรี ซึ่งมีอาณาเขตติดอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ด้านทิศเหนือ ซึ่งเคยมีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวา ขึ้นกับเมืองเพชรบุรี ก็ได้จัดตั้งเป็นอำเภอเมืองปราณบุรี สังกัดเมืองเพชรบุรีด้วย[3] ส่วนเมืองกำเนิดนพคุณขึ้นตรงกับเมืองชุมพร ด้วยมีพระราชดำริสงวนชื่อเมืองปราณไว้ (เมืองเก่าที่ตั้งอยู่ที่ปากน้ำปราณบุรี) ต่อมา วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชองการเหนือเกล้าให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธุ์ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อนเข้ารวมเป็นจังหวัดปราณบุรี ตั้งที่ตำบลเกาะหลัก[4] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อป้องกันการสับสนกับเมืองปราณ ที่ปากน้ำปราณบุรี [5] [6]หลังจากมีการยกเลิกระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์จึงไม่ได้ขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรีและมณฑลราชบุรีอีก